แบบจำลองโลจิต (Logit model) มีผู้สนใจใช้กันมากโดยเฉพาะในวงการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ ท่านผู้อ่านสามารถ download บทความที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและการประยุกต์ใช้แบบจำลองโลจิตในการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ได้ด้วยการคลิ๊กที่ Link ดังต่อไปนี้
บทที่ 1 แนวคิดพื้นฐานของแบบจำลองโลจิต (PDF 208 KB)
*** ข้อแนะนำกรณีโหลดไฟล์จาก Internet Browser ไม่ได้ หรือโหลดนานเกินไป ให้คลิกขวา คลิก Save link as เพื่อจัดเก็บไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านก่อนเปิดอ่านค่ะ (จาก Web master)
กล่าวถึงที่มาที่ไปของแบบจำลองโลจิตตั้งแต่เริ่มต้น เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่ต้องการทำความเข้าใจแบบจำลองในขั้นพื้นฐาน หรือนักวิจัยที่ต้องการทบทวนพื้นฐานของแบบจำลอง ประกอบด้วยแนวคิดเรื่องการลากเส้นโค้งโลจิสติกส์ผ่านชุดข้อมูล สมการพื้นฐาน และการอ่านค่า Marginal effect
บทที่ 2 ทฤษฎีของแบบจำลองโลจิต (PDF 200 KB)
คำอธิบายของ George Judge, et al (1988) และ William Greene (2003) โดยยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในเรื่องการท่องเที่ยว เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง เป็นการขยายความเนื้อหาในบทที่ 1 และเพิ่มเติมในเรื่องการประมาณค่าด้วยวิธีการ Maximum likelihood
บทที่ 3 แบบจำลองเชิงพฤติกรรม (PDF 189 KB)
แนวคิดของ Daniel McFadden นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี พ.ศ. 2543 ที่เขียนแสดงความเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และแบบจำลองโลจิตไว้ได้อย่างสวยงามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เป็น ปฐมบทที่ทำให้แบบจำลองนี้ใช้ได้อย่างแพร่หลายในวงการเศรษฐศาสตร์ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำแบบจำลองโลจิตไปใช้งานจริง เนื้อหาแนะนำวิธีการสร้างแบบจำลองเชิงพฤติกรรม โดยยกตัวอย่างเรื่องการเลือกพาหนะขนส่งสินค้า
บทที่ 4 การทดแทนกันระหว่างสองคุณลักษณะ (PDF 280 KB)
การสร้างแบบจำลองโลจิตจากข้อมูลที่เป็นผลต่าง (Difference value) เหมาะกับการศึกษาที่ใช้แบบสอบถามประเภทที่ให้คนหนึ่งคนเลือกครั้งละหนึ่งข้อแต่ให้เลือกหลายครั้ง วิธีใส่ตัวแปรคุณลักษณะของผู้เลือก (Characteristics) กับคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกเลือก (Attributes) ในแบบจำลองประเภทต่าง ๆ การเพิ่มพจน์ Interaction ระหว่างคุณลักษณะสองประการ แนะนำการคำนวณ Marginal effect ของสมการโลจิตแบบต่าง ๆ โดยละเอียด การคำนวณหา Marginal rate of substitution (MRS) และการกลยุทธ์การตั้งราคาด้วยค่า Price equivalent
บทที่ 5 ทบทวน Maximum Likelihood (PDF 197 KB)
อย่าปล่อยให้ Maximum Likelihood เป็นเรื่องที่หนักใจสำหรับท่าน ผมจะแสดงให้ดูว่ามันง่ายแสนง่าย เข้าใจได้โดยแทบไม่ต้องใช้ Math ในบทนี้เราจะทบทวนเรื่อง Maximum Likelihood ให้เข้าใจกระจ่างก่อนที่เราจะไปไกลกว่านี้ ซึ่งบทต่อ ๆ ไปจะต้องใช้ Maximum Likelihood กันตลอด
บทที่ 6 Contingent Valuation Method (PDF 194 KB)
การประยุกต์ใช้แบบจำลอง Logit ในการประเมินมูลค่าของสิ่งที่ยังไม่มีตลาด เช่น มูลค่าของสินค้าที่ปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น มูลค่าของสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ประกอบด้วยสองวิธีคือ Single bounded CVM และ Double bounded CVM พร้อมแถมวิธีการคำนวณ Double bounded CVM โดยไม่ต้องพึ่งโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้เพียง excel ก็ทำได้ อาศัยการคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ด้วย Quadratic Interpolation
คำเตือน: เนื้อหาในบทที่ 6 เรื่อง CVM โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Double bounded เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน การหา CVM แบบ Double bounded ด้วย Excel ยังอยู่ในระดับทดลอง ใช้สำหรับนักศึกษาเพื่อให้เข้าใจระบบการคำนวณแบบ Iteration ซึ่งความแม่นยำยังสู้ Limdep ไม่ได้ เพราะขึ้นอยู่กับ Algorithm ของการหาจุดสูงสุดของฟังก์ชั่น ซึ่งใน Excelทำได้แต่ของง่าย ๆ เท่านั้น และค่อนข้างใช้พื้นที่คำนวณมาก เช่น Quadratic Interpolation
(ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณคำแนะนำจาก ดร. เจริญชัย เอกมาไพศาล จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ท่านที่ต้องการคำแนะนำเรื่องการเขียนโปรแกรม CVM แบบ Double bounded บน Limdep สามารถติดต่ออาจารย์เจริญชัยได้ที่
This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it
)
บทที่ 7 Multinomial Logit (PDF 187 KB)
แบบจำลอง Logit เมื่อมีทางเลือกมากกว่าสองทาง แนะนำการสร้าง Likelihood function การคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ที่ทำให้ได้ค่า Log-likekihood มากที่สุด สูตรคำนวณหา Marginal effect พร้อมคำเตือนเรื่องการแปลผลค่า Marginal effect อีกทั้งยังกล่าวถึงปัญหา IIA ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จะกำหนดว่าแบบจำลองนี้จะสามารถใช้ได้หรือไม่ วิธีการทดสอบปัญหาด้วย Hausman-McFadden Test และทางออกสำหรับแบบจำลองที่ติดปัญหา IIA
บทที่ 8 Conditional Logit (PDF 123 KB)
Conditional Logit คือ แบบจำลอง Logit ที่มี attribute ของสินค้าใส่เข้ามาพร้อม ๆ กับ Characteristics ของผู้เลือก ตามอย่างแบบจำลองของ McFadden (1974)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอความกรุณาท่านผู้อ่านที่อ้างอิงเนื้อหาจากบทความเหล่านี้ ช่วยเขียนในบรรณานุกรมของท่านดังนี้
คมสัน สุริยะ. 2552. แบบจำลองโลจิต: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์.
เชียงใหม่: ศูนย์การวิเคราะห์เชิงปริมาณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[online] http://www.tourismlogistics.com
แนะนำบทความที่เกี่ยวข้อง
|